ข่าวฟุตบอลไขข้อสงสัย ระบบ “ฟีฟ่า แรงกิ้ง” คิดอย่างไร?
buaksib sport news
ฟีฟ่า แรงกิ้ง
ฟีฟ่า แรงกิ้ง

 

ถึงเวลาเลิกสงสัยกับบรรดาฟีฟ่าแรงกิ้งแล้ว เพราะคุณไม่สามารถปฎิเสธระบบการคิดคำนวณของพวกเขาได้อย่างแน่นอน
อาจจะได้เห็นกันแล้วสำหรับอันดับฟีฟ่า แรงกิ้งส์ล่าสุด โดยทัพ “มังกรแดง” ทีมชาติเวลส์ สามารถทำคะแนนแซงหน้าทัพ “กระทิงดุ” ทีมชาติสเปน ขึ้นไปรั้งอันดับ 10 ของโลกได้สำเร็จ (นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2006 ที่สเปนหลุดท็อปเท็น) ขณะที่ทีมชาติอังกฤษนั้น ขยับขึ้นมาอันดับที่ 12 แม้ว่าหลังจากที่ล้มเหลวในศึกยูโร 2016 ส่วนเบลเยี่ยมนั้นยังคงรั้งอันดับ 2 ต่อไป ขณะที่ทีมชาติฟิลิปปินส์นั้นกลายเป็นที่ 1 ในอาเซียน ทั้งที่ไม่ผ่านฟุตบอลโลก รอบ 12 ทีมสุดท้ายอย่างทีมชาติไทยด้วยซ้ำ
ทว่าอย่าเพิ่งหงุดหงิดกัน เพราะหากได้รู้วิธีคิดคำนวณของระบบนี้ คุณจะร้องอ๋อทันที และแน่นอนในวันนี้ FFT ขออาสาพาทุกท่านไปรู้จักการวิธีการของระบบนี้พร้อมๆ กัน

1. สูตรการคำนวณ
สำหรับคะแนนทั้งหมดนั้น มาจาก
คะแนนแต่ละนัด X ความสำคัญของแมตช์ X ความแข็งแกร่งของคู่แข่ง X ความแข็งแกร่งของโซนที่อยู่
คะแนนจะถูกนับรวมจากผลงาน 4 ปีหลังสุด ซึ่งแบ่งเป็น
1. คะแนนเฉลี่ยที่ได้ในรอบ 12 เดือน
2. คะแนนเฉลี่ยที่ได้จากแมตช์ที่แข่งไปแล้วนานกว่า 12 เดือน (ซึ่งจะมีผลน้อยลงทุกปี)
จำนวนคะแนน : ชนะ 3 แต้ม เสมอ 1 แต้ม แพ้ 0 แต้ม

2. ความสำคัญของแมตช์
แมตช์อุ่นเครื่อง 1 คะแนน
ฟุตบอลโลก หรือฟุตบอลรอบคัดเลือกระดับทวีป 2.5 คะแนน
ฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศระดับทวีป หรือ ฟุตบอลรายการ คอนเฟเดอเรชั่นส์ คัพ 3 คะแนน
นัดชิงชนะเลิศ ฟุตบอลโลก 4 คะแนน

3. ความแข็งแกร่งของคู่แข่ง
คะแนนมาจาก = นำ 200 – ด้วยอันดับฟีฟ่าของคู่แข่ง
เช่นพบกับทีมชาติอังกฤษ คะแนนที่ได้คือ 200-12 = 188 คะแนน
หมายเหตุ: สำหรับทีมที่อันดับเหนือกว่า 150 จะถูกลบด้วยตัวเลข 200 ขณะที่ทีมอันดับต่ำกว่าหรือเท่ากับ 150 จะลบด้วย 50

4. ความแข็งแกร่งของโซนที่อยู่
สำหรับแมตช์ที่ทั้ง 2 ทีมมาจากคนละทวีป จะใช้วิิธีนำค่าคะแนนของ 2 ทวีปบวกกันแล้วหาร 2
คะแนนของแค่ละทวีป
อเมริกาใต้ (CONMEBOL) 1.00
ยุโรป (UEFA) 0.99
เอเชีย (AFC) 0.85
แอฟริกา (CAF) 0.85
โอเชียเนีย (OFC) 0.85
อเมริกาเหนือและอเมริกากลาง (CONCACAF) 0.85

 

ข้อมูลจาก : fourfourtwo

buaksib sport newsbuaksib sport news