เปิดกฏ ฟีฟ่า ที่ชี้ชัดว่า ฟุตบอลไทย อาจจะโดนแบน จากการโดนแทรกแซงของบุคคลที่สาม จากสิ่งที่เกิดขึ้น
เปิดกฏ ฟีฟ่า ที่ชี้ชัดว่า ฟุตบอลไทย อาจจะโดนแบน หลังโดนแทรกแซงจาก บุคคลที่สาม ซึ่งจะต้องมีการชี้แจงกันต่อไป
ฟีฟ่า ที่มีข้อบังคับระบุชัด ดังนี้
14.หน้าที่ของประเทศสมาชิก (สมาคมฟุตบอล)
14.1 (ไอ) ระบุว่า การบริหารกิจการของสมาคมฯ ต้องเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากบุคคลที่สาม
14.3 การกระทำผิดข้อบังคับของฟีฟ่า ในข้อ 1 (ไอ) อาจนำไปสู่การถูกลงโทษได้ แม้ว่าการแทรกแซงจากบุคคลที่สาม จะไม่ได้เกิดขึ้นจากความผิดของประเทศสมาชิก (สมาคมฯ) ก็ตาม
บทลงโทษกรณีทำผิดระเบียบข้อบังคับของ ฟีฟ่า
16.การถูกระงับความเป็นสมาชิก
17.การถูกถอดถอนความเป็นสมาชิก
17.1 ที่ประชุมฟีฟ่าอาจถอดถอนความเป็นสมาชิกของประเทศสมาชิกในกรณีดังต่อไปนี้
17.1 (เอ) ไม่สามารถชี้แจงหรือแสดงสถานะทางการเงินได้ครบตามระเบียบของฟีฟ่า
17.1 (บี) ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของฟีฟ่าอย่างร้ายแรง
17.1 (ซี) สูญเสียสถานะความเป็นสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย
19.ความเป็นอิสระของประเทศสมาชิก และคณะผู้บริหารสมาคม
19.1 ประเทศสมาชิกจะต้องบริหารกิจการของตนอย่างเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากบุคคลที่สาม
19.2 คณะผู้บริหารสมาคม จะต้องได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งอย่างเป็นอิสระตามระเบียบข้อบังคับฯ ด้วยวิธีการที่เป็นประชาธิปไตย
19.3 ผู้บริหารสมาคมที่ไม่ได้มีที่มา ตามข้อ 19.2 จะไม่ได้รับการยอมรับ / รับรองจากฟีฟ่า
19.4 มติต่าง ๆ ของผู้บริหารสมาคม ที่ไม่ได้รับการแต่งตั้ง / เลือกตั้ง ตาม ข้อ 19.2 จะไม่ได้รับการยอมรับ / รับรองจากฟีฟ่า
ยกตัวอย่าง ชาติถูกฟีฟ่า แบน เหตุโดนแทรกแซง
– กรีซ ถูกแบนวันที่ 4 กรกฎาคม 2006 / ยกเลิกโทษแบนวันที่ 12 กรกฎาคม 2006
สาเหตุ : รัฐบาลออกกฎหมายแทรกแซงการบริหารจัดการของสมาคมฟุตบอลกรีซ ซึ่งถือเป็นการละเมิดความเป็นเอกภาพของประเทศสมาชิกฟีฟ่า
– อิหร่าน ถูกแบนวันที่ 26 พฤศจิกายน 2006 / ยกเลิกโทษแบนวันที่ 17 ธันวาคม 2006
สาเหตุ : ไร้อิสระในการบริหารงานในสมาคมฯ และจัดเลือกตั้งสมาคมฯ ได้ไม่เหมาะสม
– เอธิโอเปีย ถูกแบน กันยายน 2008 / ยกเลิกโทษแบน สิงหาคม 2009
สาเหตุ : แก้ไขปัญหาในสมาคมไม่ได้ทันตามที่ฟีฟ่ากำหนด
– อิรัก ถูกแบนก่อนฟุตบอลโลก 2010 โซนเอเชีย รอบคัดเลือก / ยกเลิกโทษแบน พฤษภาคม 2008
สาเหตุ : รัฐบาลแทรกแซง สั่งยุบคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติและสหพันธ์กีฬาแห่งชาติ
– อิรัก ถูกแบน 2009 / ยกเลิกโทษแบน ตุลาคม 2010
สาเหตุ : คณะกรรมการโอลิมปิกอิรักตัดสินใจยุบสหพันธ์ฟุตบอลของประเทศ และการตัดสินใจครั้งนี้ทำให้ฟีฟ่าเลือกที่จะแบนประเทศในเอเชียตะวันตกเนื่องจากการแทรกแซงของรัฐบาล
– ไนจีเรีย ถูกแบน 2014 / ยกเลิกโทษแบน กรกฎาคม 2014
สาเหตุ : หลังจากผลงานย่ำแย่ในฟุตบอลโลก 2014 สหพันธ์ฟุตบอลไนจีเรีย (NFF) ตัดสินใจปลดคณะกรรมการบริหาร และศาลไนจีเรียสั่งให้ข้าราชการคนหนึ่งบริหารสหพันธ์ ทำให้ฟีฟ่าแบนทันที
– กัวเตมาลา ถูกแบน ตุลาคม 2016 / ยกเลิกโทษแบน 2018
สาเหตุ : ผู้อำนวยการสหพันธ์ฟุตบอลปฏิเสธที่จะรับรองคณะกรรมการ โดยให้เหตุผลระบุว่าขัดต่อกฎหมายของประเทศ
– คูเวต, อินโดนีเซีย ถูกแบน 2015
สาเหตุ : แบนคูเวต รัฐบาลของประเทศกำลังแทรกแซงการทำงานของสมาคมฟุตบอลที่มีอยู่ในประเทศ ยกเลิกโทษแบน ธันวาคม 2017
สาเหตุ : แบนอินโดนีเซีย รัฐบาลได้แทรกแซงมาดูแลกิจการฟุตบอลเป็นหลัก ยกเลิกโทษแบน พฤษภาคม 2018
– ปากีสถาน ถูกแบน 2017 / ยกเลิกโทษแบน มีนาคม 2018
สาเหตุ : การแทรกแซงของบุคคลที่สามที่ไม่เหมาะสม
– ซิมบับเว ถูกแบน 2022 / ยังไม่ยกเลิกโทษแบน
สาเหตุ : คณะกรรมาธิการกีฬาและนันทนาการ (SRC) ที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลของประเทศ เข้าแทรกแซงหลังจากมีข้อกล่าวหาล่วงละเมิดทางเพศผู้ตัดสินหญิงโดยเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค และข้อกล่าวหาเรื่องการฉ้อโกงภายใน
– อินเดีย ถูกแบน 2022 / ยกเลิกโทษแบน 27 สิงหาคม 2022
สาเหตุ : ศาลในประเทศยุบ สมาคมฟุตบอลฯ ชั่วคราว และแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาควบคุมแทน