พรสวรรค์สุดอมตะของยอดนักเตะ เฟเรนซ์ ปุสกัส
พารามิเตอร์สำหรับการกำหนดความยิ่งใหญ่ได้รับการวัดในเชิงปริมาณมากขึ้น ผู้เล่นมักจะถูกตัดสินโดยถ้วยรางวัลที่คว้าได้ ประตูที่ทำได้ และจำนวนการลงสนามที่สะสมไว้ แต่มโนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงได้เช่นนี้สามารถจำกัดให้เป็นเพียงตัวเลขได้จริงๆ หรือ? ความยิ่งใหญ่ที่แท้จริงคือการกลั่นความยิ่งใหญ่ของการเล่นฟุตบอลและบางสิ่งที่คลุมเครือกว่า ผู้เล่นที่ยอดเยี่ยมอย่างแท้จริงนั้นอยู่เหนือความซ้ำซากจำเจของสถิติและมีความสำคัญทางวัฒนธรรมที่นอกเหนือไปจากขอบเขตของการเล่น และ เฟเรนซ์ ปุสกัส ถือเป็นบทสรุปของการตีความที่เหมาะสมยิ่งนี้
เส้นทางสู่ความยิ่งใหญ่ของปุสกัสนั้นแสนเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน โดยเขาเกิดในปี ค.ศ. 1927 และเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความวุ่นวายทางสังคมและการเมืองของสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมาภายใต้การปกครองแบบเผด็จการของผู้นำคอมมิวนิสต์ฮังการี มาจาช ราโกชี อาชีพของเขาก็ถูกขัดจังหวะด้วยสงคราม การปฏิวัติ และการแปรพักตร์ อย่างไรก็ตาม เขายังคงเป็นดาวซัลโวสูงสุดแห่งศตวรรษ โดยทำไป 511 ประตู จากการลงเล่น 533 นัดในลีกสูงสุดให้กับสโมสรบูดาเปสต์ ฮอนเวด และสโมสรเรอัล มาดริด
ความยิ่งใหญ่ที่ยากจะหาคนเทียบของ ferenc puskás
ในเวทีระดับประเทศ อัตราส่วนการยิง 84 ประตูจาก 85 เกมของเขายังคงไม่มีใครเทียบได้ ซึ่งทำให้เขานำหน้าเปเล่ เกร์ด มุลเลอร์ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ และลีโอเนล เมสซี่ เพื่อเป็นการยอมรับในความสามารถที่เหนือกว่าของเขานี้ ฟีฟ่าได้ก่อตั้งรางวัลปุสกัส ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศประจำปีที่มอบให้กับผู้เล่นที่ได้รับการตัดสินว่าเป็นผู้ทำประตูที่สวยงามที่สุดในโลกฟุตบอล
ในฐานะผู้เล่น นักเตะชาวฮังการีผู้นี้มีท่าทีที่นิ่ง ทรงพลัง มีไหวพริบ และเป็นหนึ่งในนักเตะเท้าซ้ายที่ฉกาจฉกรรจ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงยุคของระบอบอำนาจนิยมแบบกำลังทหาร เขาได้แสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดและความอิ่มเอมในชีวิตแบบปัจเจกบุคคล ปุสกัสเติบโตในบ้านชนบทในเมืองคิสเปสต์ซึ่งเขาและเพื่อนในวัยเด็กของเขา โยเซฟ บอสซิก เล่นกับลูกบอลที่ทำจากผ้าขี้ริ้ว คุณลักษณะเหล่านี้ทำให้รัฐคอมมิวนิสต์สร้างทีมโดยมีชายผู้มีสมญานาม ‘กัลลอปปิ้ง เมเจอร์’ เป็นศูนย์กลาง
ปุสกัสได้รับสมญานามนี้ในขณะที่เล่นให้กับสโมสรในวัยเด็กของเขา คือ ฮอนเวด (เดิมชื่อ คิสเปสต์) ซึ่งเป็นทีมกองทัพฮังการีที่คว้าถ้วยรางวัลห้าใบในประเทศในช่วงต้นทศวรรษ 1950 และล้มคู่ต่อสู้ในระดับนานาชาติทั้งหมด ภายใต้นโยบายการรวมศูนย์ของรัฐ สโมสรฮอนเวดได้กลายเป็นทีมชาติโดยพฤตินัย โดยมีดาวฟุตบอลของฮังการีส่วนใหญ่มาเข้าร่วมกับปุสกัสและบอสซิกที่สโมสร สิ่งนี้ทำให้โค้ชทีมชาติ กุสตาฟ เซเบสได้เข้ากุมบังเหียนทีมโดยมี ปุสกัส เป็นกัปตันทีม
เส้นทางกว่าจะมาเป็นปุสกัส
Aranycsapat หรือโกลเด้น ทีมของฮังการีได้พัฒนารูปแบบฟุตบอลที่บุกเบิกและมีความลื่นไหลทางยุธวิธีซึ่งประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว สิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในระหว่างการถลุงประตูทีมชาติอังกฤษ 6-3 ที่เวมบลีย์ในปี ค.ศ.1953 นันดอร์ ฮิเดกกูติยิงแฮตทริกได้ แต่ปุสกัสก็ขโมยซีนด้วยความเป็นอัจฉริยะในการเคลื่อนไหวของเขา โดยการลากลูกบอลกลับและเลี้ยงผ่านกัปตันทีมชาติอังกฤษอย่าง บิลลี่ ไรท์ ไปอย่างหน้าตาเฉย ตามด้วยการยิงอัดเต็มแรงด้วยเท้าซ้ายไปเข้ามุมบนของประตู ซึ่งกลายเป็นประตูแห่งศตวรรษ หกเดือนต่อมา ทีมชาติฮังการีเอาชนะทีมชาติอังกฤษ 7-1 ในบูดาเปสต์ และ ปุสกัส ก็ยิงได้สองประตูอีกครั้ง
น่าเสียดายที่กัลลอปปิ้ง เมเจอร์ ไม่เคยคว้ารางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดได้ เนื่องจากทีมแมจิเคิล แมกยาร์แพ้การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกปี ค.ศ.1954 ให้กับเยอรมนีตะวันตกด้วยสกอร์ 3-2 ซึ่งทำให้เกมดังกล่าวได้รับการขนานนามว่าเป็น “ปาฏิหาริย์แห่งเบิร์น” ความพ่ายแพ้ดังกล่าวส่งผลกระทบให้เกิดการปฏิวัติ เมื่อชาวฮังการีรวมตัวกันบนถนนในบูดาเปสต์เพื่อระบายความโกรธต่อการปกครองแบบเผด็จการของคอมมิวนิสต์
การเมืองที่ส่งผลต่ออาชีพนักเตะ
ในปี ค.ศ. 1956 การปฏิวัติได้ปะทุขึ้นอย่างแท้จริง และ เฟเรนซ์ ปุสกัส ซึ่งในขณะนั้นได้ออกทัวร์อเมริกาใต้ไปกับสโมสรฮอนเวดก็ไม่กลับมาอีกเลย หลังจากการปฏิวัติถูกสลายไป ปุสกัสได้เปลี่ยนจากนายแบบโปสเตอร์ไปเป็นคนชั่วในสายตาของผู้นำคอมมิวนิสต์ หลังจากถูกห้ามจากประเทศฮังการีและถูกฟีฟ่าแบนเนื่องจากหลบหนี ปุสกัสใช้เวลาหนึ่งปีในถิ่นทุรกันดาร จนกระทั่งสโมสรเรอัล มาดริดตัดสินใจลองเสี่ยงโชคกับนักเตะวัย 31 ปีผู้นี้ในปี ค.ศ. 1958
มันเป็นการกลับมาครั้งยิ่งใหญ่และเป็นการกลับมาที่ปุสกัสและอัลเฟรโด ดิ สเตฟาโนได้กลายมาเป็นคู่หูที่อันตรายที่สุดในฟุตบอลยุโรป ในช่วงระยะเวลาแปดปี ปุสกัส(ชื่อเล่นว่า ปันโช่) คว้าถ้วยรางวัลสเปนห้าถ้วยติดต่อกันและยิงได้เจ็ดประตูในรอบชิงชนะเลิศถ้วยยุโรปสองครั้ง โดยชนะหนึ่งครั้งและแพ้หนึ่งครั้ง สี่ประตูที่เขายิงถลุงสโมสรไอน์ทรัค แฟรงค์เฟิร์ต ในรอบชิงชนะเลิศปี ค.ศ. 1960 ยังคงเป็นหนึ่งในผลงานที่สมบูรณ์แบบที่สุดในฟุตบอลยุโรปและเป็นผลงานที่สร้างความประทับใจให้กับเซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสันผู้ยังเยาว์วัยซึ่งเข้าชมในเกมนั้นและสรุปว่า ปุสกัส คือ “หนึ่งในผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลอย่างไม่ต้องสงสัย” และที่มาดริด ปันโช่ยังคงเป็นอมตะเสมอมา
ความภาคภูมิใจของชาวฮังการีที่ไม่มีวันจางหายไป
หลังจากที่ปุสกัสได้รับอนุญาตให้กลับเข้าประเทศฮังการีได้ในปี ค.ศ. 1981 ชื่อเสียงของเขาก็กลับคืนมาและเขาก็ก้าวเข้าสู่อาณาจักรแห่งตำนานระดับชาติอย่างรวดเร็ว หากจะมีสิ่งใด ความเสื่อมถอยของฟุตบอลฮังการีและอาการป่วยไข้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคทองทำให้ความน่าเคารพของเขายิ่งทวีมากขึ้น เมื่อปุสกัสเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2006 รัฐสภาฮังการีหยุดการประชุมและมีคนนับหมื่นเข้าร่วมงานศพของเขา หลุมฝังศพของเขาตั้งอยู่ในมหาวิหารเซนต์สตีเฟนแห่งบูดาเปสต์ มีการตั้งชื่อสนามกีฬาแห่งชาติว่าสนามกีฬาเฟเรนซ์ ปุสกัส นายกรัฐมนตรีวิกตอร์ ออร์บาน ผู้คลั่งไคล้ฟุตบอล ได้ก่อตั้งทีมในหมู่บ้านในวัยเด็กของเขาชื่อปุสกัส อะคาเดมี และพวกเขาก็เล่นในสนามที่ชื่อว่าปันโช่ อารีนา
เฟเรนซ์ ปุสกัส ถือเป็นเป็นผู้เล่นที่กำหนดยุคสมัย ซึ่งสร้างสถิติที่กำหนดยุคยุคสมัย ซึ่งทั้งหมดนี้จะยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับชาวฮังการีในยุคต่อๆ ไป สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ภายใต้ความไม่สงบทางการเมืองที่ยืดเยื้อและอสูรแห่งการประหัตประหาร ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวฮังการีจึงถือว่าปุสกัสเป็นหนึ่งในบุคคลที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติ