ข่าวฟุตบอลAFC ให้ทีมระดับไทยลีก 1 ผ่าน คลับ ไลเซนซิง 8 จาก 16 สโมสร
buaksib sport news
คลับ ไลเซนซิง

AFC ประกาศให้ให้ทีมระดับไทยลีก 1 ผ่าน คลับ ไลเซนซิง 8 จากทั้งหมด 16 สโมสร

บริษัท ไทย ลีก จำกัด ขอแจ้งผลการพิจาณาใบอนุญาตสโมสร หรือ คลับ ไลเซนซิง (Club Licensing) ที่กำหนดมาตรฐาน โดย สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ AFC ในปีฤดูกาล 2023/24 เพื่อเป็นมาตรฐานของสโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันในแต่ละระดับให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่เอเอฟซีและสมาคมฯ กำหนด

ใน่สวนของใบอนุญาตสโมสรในระดับ Thai League 1 มีสโมสรที่ประสงค์จะยื่นทั้งหมด 16 สโมสร แต่ทีสโมสรที่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด 8 สโมสร ได้แก่

สโมสรขอนแก่น ยูไนเต็ด ,สโมสรโปลิศ เทโร เอฟซี ,สโมสรเชียงใหม่ ยูไนเต็ด ,สโมสรพีที ประจวบ เอฟซี ,สโมสรตราด เอฟซี ,สโมสรระยอง เอฟซี ,สโมสรสุพรรณบุรี เอฟซี และสโมสรแพร่ ยูไนเต็ด

สโมสรที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาทั้งหมด 8 สโมสร ได้แก่

สโมสรลำพูน วอริเออร์ เนื่องจากติดหลักเกณฑ์ในด้านของโครงสร้างสนามแข่งขันซึ่งรายละเอียดมีดังนี้

ในฤดูกาลที่ผ่านมา สโมสรลำพูน วอริเออร์ ผ่านใบอนุญาตสโมสรในระดับ Thai League 1 โดยมีเงื่อนไขในการปรับปรุง สนามองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน (แม่กวง) ให้แล้วเสร็จและให้ใช้ สนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เป็นสนามสำรองจนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2565 แต่หลังจากนั้นสโมสรลำพูน วอริเออร์ ได้ส่งหนังสือขอขยายเวลาในการใช้สนามสำรองจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ทั้งนี้ฝ่ายจัดการแข่งขัน บริษัท ไทยลีก จำกัด ได้อนุญาตเนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดความเสียหายต่อภาพรวมและการแข่งขัน แต่เป็นการผิดเงื่อนไขในการพิจารณาใบอนุญาตสโมสรของคณะกรรมการพิจารณาออกใบอนุญาตสโมสร (FIB) และในวันที่ 1 มีนาคม 2566 ซึ่งเข้าสู่การขอใบอนุญาตสโมสรในฤดูกาลหน้าแล้ว

ไทยลีกได้จัดการประชุมนอกรอบชี้แจงเรื่องเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในเรื่องหลักเกณฑ์ด้านโครงสร้าง สำหรับสโมสรที่มีสิทธิลุ้นขึ้นชั้นระดับ Thai League 1 และในวันเดียวกันนั้นเอง คณะกรรมการพิจารณาออกใบอนุญาตสโมสร ได้ส่งจดหมายติดตามเงื่อนไขที่สโมสรแจ้งว่าจะทำการปรับปรุงสนามองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ให้แล้วเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากสโมสร ทั้งนี้สโมสรในหลักเกณฑ์ด้านโครงสร้างสนามหมดเขตส่งเอกสารวันที่ 31 มีนาคม 2566 สโมสรลำพูน วอริเออร์ ได้ยื่นสนามองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน (แม่กวง) เป็นสนามการแข่งขันหลัก ซึ่งผลจากพิจารณา ระบุว่า สโมสรจะต้องส่งเอกสารรับรองค่าไฟส่องสว่างสนามแข่งขันที่ถูกต้องและครบถ้วนตามระเบียบหรือส่งเอกสารสัญญาการจัดซื้อการจัดซื้อจัดจ้างให้ครบถ้วนตามระเบียบ โดยต้องระบุระยะเวลาแล้วเสร็จและพร้อมใช้งานก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2566 พร้อมแผนดำเนินงานที่ระบุกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน รวมไปถึงการส่งแผนการเพิ่มที่นั่งผู้ชมในสนามการแข่งขันโดยสามารถแบ่งเป็นระยะการทำงานได้ชัดเจน

พร้อมแผนการปรับปรุงที่ระบุกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ทั้งนี้ต้องมีการปรับปรุงตามแผนในระยะแรกของการปรับปรุงให้ปรากฏเห็นผลภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 และสโมสรลำพูน วอริเออร์ ไม่มีสิทธิ์ส่งสนามสำรองได้ จะต้องทำการปรับปรุงสนามให้เสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้เท่านั้น เนื่องจากคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นควรให้มีบทลงโทษเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ไม่สามารถปรับปรุงสนามหลักให้แล้วเสร็จพร้อมใช้งานได้

สโมสรหนองบัว พิชญ เอฟซี ,สโมสรลำปาง เอฟซี และ สโมสรสมุทรปราการ ซิตี้ เนื่องจากติดหลักเกณฑ์ด้านอื่นๆโดยต้องส่งเอกสารภายใน 31 พฤษภาคม 2566

สโมสรนครปฐม ยูไนเต็ด และ สโมสรอุทัยธานี เอฟซี เนื่องจากติดหลักเกณฑ์ด้านโครงสร้างสนามโดยสโมสรจะต้องส่งเอกสารรับรองค่าไฟส่องสว่างสนามแข่งขันและแผนการเพิ่มที่นั่งผู้ชมในการสนามการแข่งขันที่ถูกต้องและครบถ้วนตามระเบียบหรือส่งเอกสารสัญญาการจัดซื้อการจัดซื้อจัดจ้างให้ครบถ้วนตามระเบียบ โดยต้องระบุระยะเวลาการแล้วเสร็จพร้อมใช้งานก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2566 พร้อมแผนดำเนินงานที่ระบุกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน และต้องมีการปรับปรุงให้เป็นไปตามแผนในระยะแรกให้ปรากฏภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ และ สามารถส่งสนามสำรองที่ผ่านมาตรฐานระดับไทยลีก 1 และเป็นสนามที่ตั้งอยู่ ณ ภูมิลำเนาเดียวกับสนามเหย้าของสโมสร

สโมสรนครศรี ยูไนเต็ด และ สโมสรอยุธยา ยูไนเต็ด เนื่องจากติดหลักเกณฑ์ด้านโครงสร้างสนามแต่ผ่านมาตรฐานในระดับไทยลีก 2

buaksib sport newsbuaksib sport news