สโมสร บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เตรียมเปลี่ยนชื่อสนาม “สนามไอ โมบาย สเตเดี้ยม” เป็น “ช้าง อารีน่า” ในฤดูกาล 2018 โดย “ช้าง” จะเข้ามาสนับสนุน ทั้งสนามฟุตบอล และสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต สนามแข่งรถทางเรียบแห่งแรกของไทย ที่สามารถใช้แข่ง ฟอร์มูล่า วัน ได้ คาดมูลล่าราว 1,000 ล้านบาท ด้วยสัญญา 5 ปี
โดย กลุ่มสามารถ ในธุรกิจสามารถไอ-โมบาย คว้าสิทธิ์ใช้ชื่อสนามเหย้าของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในนาม “ไอโมบาย สเตเดียม” ที่ให้การสนับสนุนมานานถึง 7 ปีเต็ม
ด้วยเหตุผลที่ว่า ทำไมไอโมบายฯถึงไม่ได้ไปต่อกับ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว การปิดฉาก i-mobile แบรนด์มือถือที่อยู่คู่คนไทยมานานมากๆนั้นก็คงจะหนีไม่พ้นความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
ทั้งนี้นักวิเคราะห์จากเว็บไซต์การตลาดชื่อดังอย่าง brandbuffet ได้ระบุว่า
ถ้าย้อนกลับไปเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้วในยุคที่โทรคมนาคมไทยยังเป็น “2G” และมือถือยังเป็น “Feature Phone” การเกิดขึ้นของ “มือถือเฮาส์แบรนด์”
โดยมีดิสทริบิวเตอร์รายใหญ่ ที่จำหน่ายโทรศัพท์มือถือแบรนด์ดังอยู่แล้ว และผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมไอที-โทรคมคม ได้ว่าจ้างโรงงานในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ เช่น จีน ผลิตโทรศัพท์มือถือ
พร้อมทั้งปั้นแบรนด์ของตนเองแปะลงไปบนสินค้า นำมาตีตลาดมือถือในไทย ที่เวลานั้น “โนเกีย” (Nokia) ยังครองความยิ่งใหญ่
การเข้ามาของ “มือถือเฮาส์แบรนด์” ใช้กลยุทธ์ราคาถูกกว่ามือถือแบรนด์ดัง ในขณะที่ฟังก์ชั่นจัดเต็ม ทั้งระบบ 2 ซิม, วิทยุ, MP3, กล้อง ฯลฯ
เพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค และเป็นทางเลือกให้กับคนไทย โดยเฉพาะผู้ที่มีงบจำกัด และไม่ติดแบรนด์
เรียกได้ว่าขณะนั้นเป็น “ยุคทอง” ของมือถือเฮาส์แบรนด์ในไทยก็ว่าได้ นำโดย “i-mobile” (ไอ-โมบาย)ซึ่งเป็นผู้นำตลาดนี้ และตามมาด้วยอีกหลายแบรนด์ เช่น G-Net, TWZ, Wellcom, PhoneOne
แต่วันนี้ยุคทองของ “มือถือเฮาส์แบรนด์” ได้ผ่านไปแล้ว และเข้าสู่ยุคถดถอย !! บางแบรนด์ที่ว่ามานี้ ล้มหายไปจากตลาดแล้ว
ในขณะที่แบรนด์ที่ยังอยู่ ได้ออก “สมาร์ทโฟน” แข่งในตลาดแมส ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากลำบากของมือถือเฮาส์แบรนด์
ล่าสุดพี่ใหญ่ในตลาดมือถือเฮาส์แบรนด์ “กลุ่มสามารถ” ออกมายอมรับว่า หลังจากทำตลาด “i-mobile”มาเป็นเวลา 20 ปี ขณะนี้มือถือ “i-mobile” ไม่สามารถแข่งขันในธุรกิจโทรศัพท์มือถือได้แล้ว
และในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา ประสบกับภาวะขาดทุนมาตลอด เพราะฉะนั้นถ้าฝืนทำธุรกิจมือถือเฮาส์แบรนด์ต่อไป จะกระทบต่อกลุ่มธุรกิจอื่นในเครือเช่นกัน
นี่จึงทำให้ “กลุ่มสามารถ” ตัดสินใจปิดฉาก “i-mobile” หลังจากในอดีตแบรนด์นี้ เคยทำยอดขายไม่ต่ำกว่า 4,000,000 – 5,000,000 เครื่องต่อปี
พร้อมกันนี้ได้เปลี่ยนชื่อ “บริษัท สามารถไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน)” เป็น “บริษัท สามารถ ดิจิตอล จำกัด (มหาชน)” เพื่อปรับเข้าสู่ “ธุรกิจดิจิทัล” เต็มตัว และลดความเสี่ยงจากการทำตลาดมือถือ
เป็นเวลาประมาณ7 ปีที่ ชื่อของ ไอโมบาย เป็นคำเรียกติดปากของทั้งคน บุรีรัมย์ และแฟนฟุตบอลที่มาเข้าชมการแข่งขันฟุตบอล ว่า ไอโมบาย สเตเดียม สนามฟุตบอลประจำทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
หรือที่มีชื่อเรียกอีกชื่อว่าธันเดอร์คาสเซิลสเตเดียม (Thunder Castle Stadium)
แต่ในวันนี้ ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนชื่อสนามเป็นครั้งแรก เพราะการปิดตัวของธุรกิจมือถือสัญชาติไทยที่เคยมียอดขายรวมแล้วเกือบ 40 ล้านเครื่อง อย่างไอโมบาย ของกลุ่มบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น
วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า
จากสภาพการแข่งขันในธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่มีการแข่งขันสูง ประกอบกับการที่โอเปอเรเตอร์เข้ามาทำตลาด ส่งผลให้ทางไอ-โมบาย ไม่สามารถสร้างรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
และได้ยุติการเป็นสปอนเซอร์สนามฟุตบอลบุรีรัมย์อย่างเป็นทางการแล้ว
เนื่องจากบริษัทได้ยกเลิกกิจการมือถือแบรนด์ไอโมบายไปเมื่อเร็วๆนี้ แต่ยังเป็นสปอนเซอร์หลักให้ทีมฟุตบอลปราสาทสายฟ้า โดยเปลี่ยนจากโลโก้ไอโมบายมาใช้ชื่อ “สามารถ” แทน
และแล้วการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็ส่งผลมาถึงสโมสรฟุตบอลยักษ์ใหญ่แห่งไทยพรีเมียร์ลีกอย่าง บุรีรัมย์ยูไนเต็ด ที่ได้รับการสนับสนุนหลักจาก i-mobile กระทั่งตั้งชื่อสนามเหย้าด้วยการชื่อแบรนด์มือถือ
สนาม Thunder Castle จึงเปลี่ยนมือไปให้กับ Chang ผู้สนับสนุนหลักของสนามแข่งรถระดับโลกของ เนวิน ชิดชอบ อย่าง Change Ingernational Circuit
โดยในวันที่ 23-24 ธันวาคม 2560 ทางสโมสร บุรีรัมย์ยูไนเต็ด เตรียมเปิดตัวชื่อสนามชื่อใหม่นี้แทนชื่อ i-mobile Staduim เป็นชื่อว่า “CHANG ARENA”
ขอบคุณภาพ BURIRAM UNITED
ขอบคุณบทความจาก : brandbuffet