ข่าวฟุตบอล ไทยลีก“ช้างศึกโต๊ะเล็ก” วางยุทธศาตร์ใหม่ ตั้ง 8 อรหันต์ บูรณาการฟุตซอลไทยทั้งระบบ
buaksib sport news
ฟุตซอลชาติไทย
"ช้างศึกโต๊ะเล็ก"
ฟุตซอลชาติไทย

ทีมฟุตซอลชาติไทย ประชุมวางยุทธศาตร์ให้กับฟุตซอลไทยตั้ง 8 อรหันต์ บูรณาการฟุตซอลไทยทั้งระบบ หลังตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2018

โดยการประชุมคณะทำงานทีมฟุตซอลชาติไทย เพื่อวิเคราะห์ประเมินผลการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2018 ที่ประเทศไต้หวัน ซึ่งทีมฟุตซอลชาติไทยตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายที่ผ่านมา

นำโดย “บิ๊กป๋อม” อดิศักดิ์ เบ็ญจศิริวรรณ ประธานพัฒนาฟุตซอล นายสรัญ รังคสิริ ผู้จัดการทีม พร้อมสต๊าฟโค้ช ผู้ฝึกสอน เจ้าหน้าที่ ได้หาข้อสรุป โดยมีผลประชุม เริ่มจากการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงในแง่มุมต่างๆดังนี้

1. ในปี 2008 ทีมชาติไทยเริ่มนำระบบและโค้ชสเปน (ปูลปิส) เข้ามาปรับใช้กับทีมชาติไทย และเริ่มการสร้างทีมชาติไทย ชุด U-21 ในปีเดียวกัน เพื่อเตรียมไว้สำหรับการแข่งขันฟุตซอลโลก ปี 2012 และ 2016 ตามลำดับ

2. ทีมชาติไทยประสบความสำเร็จจากผู้เล่นกลุ่มนี้ที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมากว่า 10 ปีที่ผ่านมา อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง จากการเป็นรองแชมป์เอเชีย ในปี 2012 และเข้ารอบ 16 ทีม ในการแข่งขันฟุตซอลโลก ในปี 2012 และ 2016 และในระดับสโมสรเป็นแชมป์เอเชียในปี 2013 และ 2017

3. การพัฒนาผู้เล่นชุด U-21 ขาดความต่อเนื่องหลายปี (2012-2016) ทำให้การพัฒนารุ่นต่อรุ่น โอกาสและประสบการณ์ของผู้เล่นใหม่ๆในเวทีนายาชาติมีค่อนข้างจำกัดเเละเป็นไปโดยไม่ปะติดปะต่อในด้านการการทดแทน การพัฒนาผู้เล่นชุด U-20 เริ่ม
กลับมาอีกครั้งในปี 2017 ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาเสริมสร้าง 2-3 ปี ที่จะก้าวมาเป็นกำลังหลักได้

4. การแข่งขันของทีมชาติไทยในแต่ละปฏิทินรอบปี ทั้งในระดับอาเซียนและเอเชีย มีจำนวนมาก กอร์ป กับการแข่งขันลีกภายในประเทศ รวมทั้งระดับสโมสรอาเซียนและเอเชีย ทำให้ผู้เล่นทีมชาติไทยมีภารกิจทั้งปี ไม่มีเวลาหยุดพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ

5. ชาติต่างๆ ในเอเชียพัฒนาขึ้น หลายชาติมีการลงทุนในด้านผู้ฝึกสอน การเทรนนิ่ง พัฒนาการด้านเทคนิค รวมถึงการพัฒนาด้านการแข่งขันภายใน จะเห็นได้ว่าฟุตซอล U-20 ชิงแชมป์เอเชียที่ผ่านมามีทีมชาติเข้าร่วมถึง 21 ทีม

6. รูปแบบและระบบการเล่นของทีมชาติไทยและสโมสรไทย ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากใน 10 ปีที่ผ่านมา ได้ถูกวิเคราะห์ เจาะลึกจากชาติต่างๆ ในเอเชีย โดยตั้งแต่การแข่งขันชิงแชมป์อาเซียน ที่เวียดนามเริ่มปรับใช้การเล่นระบบใหม่ แทคติกใหม่ๆ แต่ยังไม่สมดุลลงตัว

7.รูปแบบการตัดสิน มีการปรับเปลี่ยนโดยสามารถให้มีการปะทะด้วยการใช้ร่างกาย ส่งผลถึงทีมที่เสียเปรียบด้านสรีระ จากเดิมที่นักเตะไทยมีรูปร่างเล็ก คล่องแคล่ว สามารถเรียกฟาล์วได้ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไป จึงต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในด้านสมรรถภาพร่างกาย

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ฟุตซอลไทยจะต้องมียุทธศาสตร์ในระยะสั้น 2 ปี (ฟุตซอลโลก 2020) ระยะกลางและระยะยาว ใน 6 ปี และ 10 ปี ข้างหน้า (ฟุตซอลโลก 2024 และ 2028) โดยบูรณาการในด้านการแข่งขันภายใน ลีกอาชีพ และการบริหารจัดการทีมชาติให้สอดคล้องและเอื้ออำนวยต่อความต่อเนื่องและความสำเร็จในการพัฒนาทีมชาติไทย

โดยจะทำการจัดตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาเทคนิคทีมชาติไทย” (FUTSAL TECHNICAL COMMITTEE) โดยมีวัตถุประสงค์

– พัฒนาโครงสร้างและรูปแบบการเล่น ในทุกๆ องค์ประกอบให้เหมาะสมกับคุณลักษณะของผู้เล่นไทยและสอดคล้องกับพัฒนาการฟุตซอลทั่วโลก ในปัจจุบันและอนาคต

– วางระบบที่มีมาตรฐานเดียวกัน ถ่ายทอดสู่สโมสรทุกสโมสรในลีกให้พัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ครอบคลุมทั้งการพัฒนาเยาวชนตามสถานศึกษาต่างๆ

– นำเสนอและกำหนดแนวทางในการเสริมสร้างทีมชาติไทยชุดต่างๆ ทั้ง ชุด U18 – U20, U23 จนถึงทีมชาติชุดใหญ่และทีมฟุตซอลหญิง รวมทั้งการจัดเเยกชุดทีมเข้าร่วมการเเข่งขันแต่ละรายการ

– จัดทำยุทธศาสตร์ระยะสั้น กลาง และยาว เพื่อพัฒนาฟุตซอลไทยให้แข็งแรงและยั่งยืนในอนาคต

คณะกรรมการพัฒนาเทคนิค ชุดนี้ จะมีประธานพัฒนาฟุตซอล “บิ๊กป๋อม” อดิศักดิ์ เบ็ญจศิริวรรณ เป็นประธานฯ ส่วนรายชื่อคณะกรรมการฯ อีก 8 คน ประกอบด้วย

1. มร.โฆเซ่ มาเรีย ปาซอส เมนเดซ (ปูลปิส)

2. นายพัทยา เปี่ยมคุ้ม

3.นายอุดม ทวีสุข

4.นายรักษ์พล สายเนตรงาม

5.นายสุรพงษ์ พลายอยู่วงษ์

6.นายวิศาล ไหมวิจิตร

7.นายสมบัติ ปานสมุทร

8.นายสุชิน เอี่ยมฉลาด

ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาเทคนิคฯ จะมีการประชุมนัดแรกในวันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561 เวลา 14.00 น. ณ การกีฬาแห่งประเทศไทยด้วย

ขอขอบคุณ : Futsal Thailand – ฟุตซอลไทยแลนด์

buaksib sport newsbuaksib sport news