สมาคมฯ เผยที่มาโครงการ Talent Identification ซึ่งเป็นการเฟ้นแข้งเยาวชนฝีเท้าดีทั่วประเทศ
“โครงการ Talent Identification ภารกิจเฟ้นหานักฟุตบอลที่มีศักยภาพสูง ทั้ง 6 ภูมิภาคของเมืองไทย เข้าสู่ฐานข้อมูลทีมชาติ ”
ทางสมาคมฯ ส่งทีมงาน Scout ไปมองหานักเตะที่โดดเด่น ทั้งไหวพริบและฟอร์มการเล่นเพื่อเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบ โดยจัดทีม Scout 12 คน คือ ชาย 6 คนและหญิง 6 คน ไปซุ่มดูฟอร์มนักเตะ ทั้งหญิงและชาย ตามการแข่งขันรายการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Youth League หรือรายการที่ต่างจังหวัดจัดขึ้น ทั้งรายการเล็ก – ใหญ่ เพื่อไม่ให้ Rising Star หลุดลอดสายตาไปได้
จากเดิมข้อมูลนักเตะเมืองไทยมีแค่ไม่กี่กลุ่ม แต่เพราะฟุตบอลไม่ได้มีแค่ในกรุงเทพฯ ทีมงาน Scout จึงต้องเดินทางไปหาเด็กมากขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด และเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสให้กับเด็ก ๆ มากขึ้น เพราะเด็กบางคนไม่ได้แข่งรายการ Youth League การมีทีม Scout ช่วยให้เด็กฝีเท้าดีไม่ตกหล่นอย่างแน่นอน
เมื่อได้ทีมงาน Scout แล้ว ก็ส่งไปค้นหานักเตะ Young Blood อายุ 12,14 และ 16 ปี ที่ข้อมูลเหล่านี้จะเชื่อมโยงกันกับทุกโครงการ เช่น ทีมงาน Scout ในรุ่นอายุ 12 ปี มีโปรแกรม Grassroots Festival ทีมงาน Scout จะพาเหรดกันไปทำการวิเคราะห์นักเตะ เด็กคนไหนมีศักยภาพโดดเด่น ก็ดึงตัวเข้ามาในโครงการของ Talent ID แล้วใส่ในฐานข้อมูลทีมชาติ ที่ทีมงานจดบันทึกตามหลักเกณฑ์ T MASC
จากนั้นจะติดตามดูพัฒนาการของเด็ก โดยไปดูตามภูมิภาคต่าง ๆ Talent ID จึงช่วยยกระดับทีมชาติให้ได้นักฟุตบอลที่มีดีและเก่งจริงมาเป็น “ขุนพลช้างศึกจูเนียร์” เพราะมีตัวช่วยคือ Database
หลังจากที่ทีม Scout ได้ทำการคัดเลือกนักเตะเข้าสู่โครงการ Talent ID แล้ว เป้าหมายต่อมาคือการให้น้อง ๆ นักเตะได้เข้ามาฝึกซ้อมกับทีมงานของสมาคมฯ โดยใช้โปรแกรมการฝึกซ้อมระบบเดียวกันกับเยาวชนทีมชาติ เพื่อพัฒนาและคัดเลือกผู้เล่นชุดตัวแทนทีมทั้ง 6 ภูมิภาค เพื่อแข่งขันระดับประเทศต่อไป