กรมพลศึกษา จับมือกับ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ในการร่วมกันพัฒนาฟุตบอลไทย
วันพุธที่ 17 สิงหาคม 2565 ณ สนาม ศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ กรมพลศึกษา กรมพลศึกษา และ สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อวางแผนพัฒนาฟุตบอลไทยในระยะยาว
การลงนามครั้งนี้ นำโดย สุพจน์ วงศ์พรหมท้าว รองอธิบดีกรมพลศึกษา พร้อมด้วย ยุทธนา หยิมการุณ อุปนายกสมาคมฯ ฝ่ายจัดการแข่งขัน
วัตถุประสงค์ของการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้
1.1 เพื่อเพิ่มจํานวนบุคลากรกีฬาฟุตบอลให้ได้รับการเรียนรู้และฝึกสอนอย่างถูกต้อง เหมาะสม ในทุกภาคส่วน
1.2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะความสามารถด้านกีฬาฟุตบอลในระดับรากหญ้า ให้แก่ เด็ก เยาวชน ประชาชน และผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล
1.3 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และประโยชน์ด้านกีฬาฟุตบอลให้แก่ครอบครัวและชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากีฬาฟุตบอลมากยิ่งขึ้น
1.4 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และสร้างมาตรฐานการพัฒนากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกีฬาฟุตบอล
ในระดับท้องถิ่น
1.5 เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลระดับพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง
โดย ขอบเขตความร่วมมือ
2.1 การจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับเด็กและเยาวชน (Competition) การประสานความร่วมมือในการวางแผนกําหนดตารางการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระดับพื้นฐาน ของแต่ละฝ่ายร่วมกัน เพื่อลดความทับซ้อนของตารางการแข่งขันระหว่างกัน
2.2 การพัฒนาและฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล (Coach Education) อาทิ การบูรณาการหลักสูตรอบรมผู้ฝึกสอนระหว่าง สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ และ กรมพลศึกษา ในหลักสูตรระดับ G – Diploma และรับรองมาตรฐานการพัฒนาผู้ฝึกสอนในระดับพื้นฐานร่วมกัน, การบูรณาการการพัฒนาวิทยากรผู้ฝึกสอนหลักสูตรระดับ G-Diploma,
2.3 การพัฒนาและฝึกอบรมผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอล (Referee) อาทิ การบูรณาการหลักสูตรอบรมผู้ตัดสินระหว่าง สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ และ กรมพลศึกษาในหลักสูตรระดับขั้นพื้นฐาน และรับรองมาตรฐานการพัฒนาผู้ตัดสินในระดับพื้นฐานร่วมกัน และ การบูรณาการการพัฒนาวิทยากรผู้ตัดสินหลักสูตรระดับพื้นฐาน
2.4 การจัดกิจกรรมส่งเสริมฟุตบอลระดับพื้นฐาน (Grassroots) อาทิ การบูรณาการการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับด้านกีฬาฟุตบอลในระดับพื้นฐาน, การบูรณาการการสร้างเครือข่ายกีฬาฟุตบอลระดับพื้นฐานในท้องถิ่นและภูมิภาค,
2.5 การบูรณาการฐานข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลระดับพื้นฐานและมวลชนร่วมกัน (Database) อาทิ การแบ่งปันระบบการจัดการและสถิติรายการแข่งขันกีฬาฟุตบอล, การแบ่งปันฐานข้อมูลและสถิติของนักกีฬาฟุตบอล, การแบ่งปันฐานข้อมูลและสถิติของผู้ฝึกสอนและบุคลากรกีฬาฟุตบอลระดับพื้นฐาน และ การแบ่งปันฐานข้อมูลด้านสนามและสิ่งอํานวยความสะดวกเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล
2.6 การส่งเสริมโครงการ FIFA for School อาทิ การร่วมมือกันจัดทําโครงการในฐานะ คณะกรรมการโครงการระดับชาติ (National Steering Group), การพัฒนาด้านกีฬาฟุตบอลให้แก่ครูพลศึกษาและนักเรียนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ, การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการแขงขันและกิจกรรมกีฬาฟุตบอล, การเผยแพร่ข่าวสารผ่านเครือข่ายของสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ และกรมพลศึกษา, การรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลในประเทศไทยจากผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรของสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ กรมพลศึกษา และ หน่วยงานอื่น ๆ ในท้องถิ่นและภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง